Contact Us

E-Magazone
228/65 , Ratchada 32,
Jatujak Bangkok,Thailand 10900
Tel.0926992541
www.emagazone.com
Email: emagazone2017@gmail.com

Thank you Follow Us

รวมบทความ

Facebook

Stories all Around

Stories All Around สาระน่ารู้อยู่รอบตัวคุณ

Popular

ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สมุนไพรแก้โรคความดันโลหิตสูง

สมุนไพรรักษาโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือผู้มีภาวะเสี่ยงโรคดังกล่าว และกำลังมองหาทางเลือกในการดูแลรักษาควบคู่ไปกับการใช้ยา แอดมินมีสาระความรู้ในการใช้สมุนไพรใกล้ตัวในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงมาแนะนำกันดังนี้
*กระเทียมสด  (Garlic) มีสารอัลลิซิน (Allicin) ซึ่งเป็นสารที่ให้กลิ่นฉุนจะออกฤทธิ์ให้สรรพคุณทางยาที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ก็ให้โทษเช่นกัน หากกินในปริมาณมากจะทำให้โลหิตจาง เวียนหัวอาเจียน เลือดไหลไม่หยุดในผู้มีโรคประจำตัวที่ต้องกินยาละลายลิ่มเลือด                                                                     
* ใบบัวบก (Gota Kula) ใบบัวบกช่วยลดความดันโลหิตได้อีกทั้งยังช่วยลดภาวะความเครียดอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง วิธีรับประทานโดยนำใบสดคั้นน้ำดื่มต่อเนื่องกัน 500 มิลลิกรัมต่อวันหรือรับประทานใบบัวบก 4-5ใบ ต่อมื้ออาหาร   

* ขิง (Ginger ) ช่วยลดความดันโลหิต ใช้ขิงสดเอามาฝานต้มกับน้ำรับประทาน  ขิงอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ จึงควรระมัดระวังการใช้ในคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร


 ตะไคร้ (Lemon grass ) มีสารสำคัญที่พบ คือ น้ำมันหอมระเหย ชื่อว่า Lemon grass oil หรือ Verbena oil หรือ Molissa oil ซึ่งมีองค์ประกอบเป็น Citral ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ประโยชน์ทางยาใช้ขับลม ขับเหงื่อ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และลดความดันโลหิต                                                                                                 

*ขึ้นฉ่าย (Celery)  ใช้ทั้งต้น มีรสขมเย็น ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง ใช้ต้นสดล้างน้ำให้สะอาด นำมาคั้นน้ำผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 50-100 CC หรือใช้ขึ้นฉ่ายสดทั้งต้น ล้างให้สะอาด นำมาตำแล้วต้มกับพุทราจีน 10 ลูก รับประทานวันละ 3 ครั้ง ติดต่อ 2 สัปดาห์

* มะรุม (Moringa)  สารสกัดน้ำและเอทานอลของใบมะรุม ผลและฝักมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ควรระมัดระวังการใช้ส่วนต่างๆ ของมะรุมในสตรีมีครรภ์ คนที่เป็นโรคเลือด ไม่ควรรับประทาน                              

* กระเจี๊ยบแดง (Rosella) ช่วยลดความดันโลหิตและลดไขมันในเลือดได้ และยังมีสรรพคุณทางยารักษาโรคต่าง ๆ  ข้อควรระวัง กระเจี๊ยบแดงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ในผู้ป่วยบางราย เพราะมีฤทธิ์เป็นยาระบาย น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ แม้ว่าจะมีความเป็นพิษต่ำมาก แต่ก็ไม่ควรดื่มในปริมาณเข้มข้นและติดต่อกันนาน ๆ เพราะจะไม่เกิดผลดีต่อสุขภาพ                       

การนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคย่อมมีทั้งคุณและโทษ ผู้ใช้ควรศึกษาวิธีการใช้สมุนไพรหรือปรึกษาแพทย์แผนไทย เพื่อให้คำแนะนำการใช้สมุนไพรที่ถูกต้อง ปลอดภัยและตรงกับโรคอีกด้วย

                           

เรื่อง&ภาพ: eMag





                                                                         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชะเอมเถา สรรพคุณมากล้น จากเถาถึงผล รักษาโรคสารพัด

มะกรูดดองน้ำผึ้ง ยาอายุวัฒนะ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน บำรุงเลือด ผิวพรรณ​ดี

ไปให้รู้ เดินดูให้เห็นสะพานเดินท่องป่าชายเลน วนอุทยานปราณบุรี